วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

สอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาคให้นักศึกษาทำลงในบล็อกของนักศึกษาทุกข้อทุกข้อ มี 10 ข้อ

1. คำว่า จรรยาบรรณ จริยธรรม คุณธรรม ค่านิยม จารีตประเพณี กฎหมาย ให้นักศึกษาให้คำนิยาม และสรุปว่าคำเหล่านี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ  จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

จริยธรรม หมายถึง สิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว

คุณธรรม หมายถึง ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ จนเกิดจิตสำนึกที่ดี มีความกตัญญู เป็นต้น

ค่านิยม  หมายถึง สิ่งที่สังคมถือว่ามีค่าพึงปราถนาต้องการให้เป็นเป้าหมายของสังคมและปลูกฝังให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นเป้าหมายในการดำเนินชีวิตควรหลีกเลี่ยง เช่น ความยากจน สิ่งมีคุณค่า น่าปราถนา หรือนำความสุขมาให้มีทั้งเป็นวัตถุและไม่เป็นวัตถุ

จารีตประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนหรือแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่สืบทอดกันมาช้านานและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม 

กฎหมาย  หมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม กฎหมาย มีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง

จากคำต่างๆข้างต้น สิ่งที่เหมือนกัน ก็คือ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับ การปฏิบัติ เพื่อเป็นการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และเพื่อความสันติสุขของบ้านเมือง

2. ในสังคมทุกวันนี้ กฎหมาย เข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาทต่อมนุษย์อย่างไร หากไม่มีจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีกฎหมายจริงหรือที่ว่าสามารถใช้บังคับได้ สังคมทุกวันนี้สงบตามที่นักกฎหมายได้บัญญัติขึ้น จงให้เหตุผลยกตัวอย่าง
ตอบ   กฏหมาย เข้ามามีบทบาทในการลงโทษ บุคคลที่กระทำความผิด หรือ กระทำในสิ่งที่สังคมเชื่อว่าสิ่งนั่้น มีความเลวร้าย จึงสมควรได้รับโทษ หากบ้านเมืองไม่มีกฎหมายบังคับใช้ บ้านเมืองก็คงมีแต่ความวุ่นวาย ผู้คนในสังคมก็จะกระทำการสิ่งใดตามใจตนเอง บ้านเมืองเกิดความขัดเเย้ง รบราฆ่าฟัน เพื่อความอยู่รอดของตนเอง 

3. พระราชบัญญัติการการศึกษา มีหลักในการจัดการศึกษาและแนวการจัดการศึกษาทำได้อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  และต้องยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนเพราะอาจจะสร้างปัญหาเชิงกฎหมายในการบังคับใช้ และการตีความ นอกจากนั้นในปรัชญาการเรียนการสอนควรหลีกเลี่ยงแนวคิดแบบสุดโด่งที่แยกขั้วระหว่างการเรียนของนักเรียน
และการสอนของครู   การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้

(1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัวชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

4. ในฐานะที่นักศึกษาทุกคนทราบว่าประเทศไทยขณะนี้อยู่ในช่วงปฏิวัติ นักศึกษาคิดว่าประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจาก สาเหตุอย่างไร วิธีการที่คณะรัฐบาลทหารแก้ไขอยู่นี้น่าจะดีหรือไม่ดีจงให้เหตุผลและอธิบาย
ตอบ  ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น น่าจะมาจาก สาเหตุ ความขัดเเย้งทางด้านการเมือง ซึ่งทำให้เกิดความวุ่นวายต่อสังคมไทยมาก ซึ่งการที่รัฐบาล และทหารเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหานี้ ถือได้ว่าเป็นผลดีต่อประชาชน เข้ามาควบคุม ดูแล ให้ความช่วยเหลือ และช่วยทำให้ปัญหาทุกๆอย่าง คลี่คลายและสงบลงในที่สุด ในการออกมาแถลงการณ์ของรัฐบาลในแต่ละครั้ง เป็นข่าวสารที่ดีที่มีผลต่อคนไทยทั้งประเทศ ให้เฝ้าติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา และให้ความสำคัญต่อเหตุการณ์บ้านเมืองอยู่ทุกขณะ

5.ความเคลื่อนไหวทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศมีการปฏิรูปขึ้น หากหน่วยงานทางการศึกษา เช่นเขตพื้นที่ประถมศึกษา เขตพื้นที่มัธยมศึกษา มีการยุบ และได้มีการนำสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่จังหวัดในรูปแบบองค์คณะบุคคลเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัดท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ   สำหรับผมไม่เห็นด้วย  เพราะว่า การยุบ เขตพื้นที่ประถมศึกษา เขตพื้นที่มัธยมศึกษา แล้วให้มีการนำสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่จังหวัดในรูปแบบองค์คณะบุคคล มันเป็นระบบที่ค่อนข้างทำงานยาก เป็นการทำงานที่ต้องดูแลระบบใหญ่ จากที่มีการแบ่งภาระหน้าที่ให้แต่ละหน่วยงานดูแลก็ดีอยู่แล้ว เพราะการทำงานที่ใหญ่ขึ้น ความยุ่งยากในการบริหารก็ย่อมซับซ้อน ยุ่งยาก ดังนั้น การที่จะมีการปฏิรูปทางการศึกษาเกิดขึ้นนั้น ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นผลเสียต่อบุคคลหลายๆฝ่าย 

6.ในฐานะที่นักศึกษาจะลงไปฝึกสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิชากฎหมายนี้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรจงยกตัวอย่างที่นักศึกษาคิดว่านำไปปฏิบัติกับตัวนักศึกษาและนักเรียนได้ ยกตัวอย่างอธิบายพร้อมเหตุผลทำไมจึงทำเช่นนั้น
ตอบ   สำหรับผม คิดว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้คือ ในการทำงานของสถานศึกษาจำเป็นต้องอาศัยกฎหมายในการทำงาน ทั้งในเรื่อง การดูแลเด็กนักเรียน การทำงานร่วมกับครู การวางตัวกับเด็ก ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาซึ่งได้แก่
1. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
2. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
3. พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ พ.ศ. 2551
4. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎกระทรวง
5. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
6. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณของวิชาชีพ และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
7. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547และที่แก้ไขเพิ่มเติม
8. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู: วินัยและการรักษาวินัย, คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม, มาตรฐานวิชาชีพ, จรรยาบรรณวิชาชีพ, และสมรรถนะวิชาชีพ
9. กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พึงทราบ เช่น
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา พ.ศ.2547
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเวลาทางานและวันหยุดราชกสนของสถานศึกษา พ.ศ.2547
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้กำกับการสอบ พ.ศ.2548
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ พ.ศ.2548
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษาพ.ศ.2548
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
- ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
10. ทฤษฎีและรูปแบบระบบการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา การออกแบบและการวางแผน การบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา การนาแผนไปสู่การปฏิบัติ
11. ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษา และบทสรุปการนาความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้

7. คำว่าการประกันคุณภาพมีความหมายอย่างไร มีหลักการประกันอย่างไร ถ้าหน่วยงานของต้นสังกัดลงมือทำเองเรียกว่าอะไรเข้ามีวิธีการทำอย่างไร หากนอกสังกัดเขาลงมือทำเขาเรียกว่าอะไร มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร (ให้ตอบเฉพาะของการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
ตอบ  การประกันคุณภาพ หมายถึง การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) และการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพ และมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา
หลักการในการประกัน  มัดังนี้
- สร้างความมั่นใจและความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษา
- การป้องกันปัญหา ต้องมีการวางแผนและการเตรียมการ
- ตั้งมั่นบนหลักวิชาในการพัฒนาหลักวิชาชีพ
- การดำเนินงานสามารถติดตามตรวจสอบและประเมินตนเองได้
- การดำเนินงานเน้นคุณภาพในการปฏิบัติงานทุกระดับทุกขั้นตอน
- การสร้างความรู้ ทักษะ และความมั่นใจให้กับบุคลากรในสถานศึกษา
- การประสานสัมพันธ์ในองค์กรและบุคลากรในพื้นที่
- การเน้นภาวะผู้นำของผู้บริหาร
***ถ้าหน่วยงานของต้นสังกัดลงมือทำเอง เรียกว่า การประกันคุณภาพภายใน (Internal Quality Assurance) มาตรา 48 กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
***ถ้าหน่วยงานของนอกสังกัดลงมือทำเอง เรียกว่า  การประกันคุณภาพภายนอก (External Quality Assurance) มาตรา 49 กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กรมหาชน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

8ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูมืออาชีพท่านจะต้องนำวิชากฎหมายและการประกันคุณภาพมาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ตั้งแต่เรื่องการจัดการเรียนการสอน ชุมชน การดูแลนักเรียน ขอให้ตอบโดยนำหลักคิดมาประยุกต์ใช้
ตอบ    ในวิชาชีพครูในการจัดการเรียนการสอน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ คือ นำกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก มาประยุกต์ใช้ โดยไม่ไปฝ่าฝืนเด็กตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เช่น ลงโทษเด็กจนเกินเหตุ ชู้สาว เป็นต้น ชุมชน ก็นำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับสมัครนักเรียนเข้าสถานศึกษา โดยไปประสานกับผู้ปกครองให้รับทราบถึงกฎ ข้อระเบียบ เกณฑ์ ในการเข้ารับการศึกษาต่างๆ โดยทำความเข้าใจให้กับผู้ปกครองการดูแลนักเรียน ก็นำกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับของเด็กนักเรียน โดยจะให้สิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ และเท่าเทียมกันทุกคน

9. วิชานี้ท่านคิดว่าเรียนไปแล้วมีประโยชน์หรือไม่ ถ้านักศึกษาไม่ได้เรียนก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูน่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างโปรดยกตัวอย่างประกอบการอธิบายและเมื่อได้เรียนแล้วจะได้ระมัดระวังอย่างไร
ตอบ   วิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นวิชาที่มีความสำคัญมากกับนักศึกษาวิชาชีพครู เพราะถ้าไม่ได้เรียน เราก็อาจจะไม่ให้ความสำคัญกับมันเลย และไม่ทราบถึงรายละเอียด ข้อห้าม หรือกฎบังคับ เกี่ยวกับ การศึกษา ซึ่งถ้าเราประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นข้อห้าม ก็อาจจะส่งผลเสียต่อตัวเราเอง ซึ่งหลังจากการได้รับการเรียนรู้ในรายวิชานี้ ทำให้นักศึกษาต้องยึดหลักในการปฏิบัติ เเละให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดที่ค่อนข้างลึกซึ้งมาก ดังนั้นในการทำความเข้าใจในเนื้อหา ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก เเต่ก็เป็นประโยชน์ต่อผู้เป็นครูในอนาคต

10. การสอนแบบใช้เทคโนโลยีเวบบล็อกผสมผสานกับรายงานของนักศึกษา นักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์หรือไม่อย่างไรจงแสดงความคิดเห็นตามแนวคิดของนักศึกษา.
ตอบ   สำหรับผมคิดว่า ประโยชน์ของการสอนแบบใช้เทคโนโลยีเวบบล็อกผสมผสาน เป็นการให้ผู้เรียนนั่นรู้จักการศึกษา ค้นค้วาด้วยตนเอง และรู้จักใช้สื่อเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และก้าวทันสู่สังคมโลกยุคปัจจุบัน  ในการทำงานตามที่อาจารย์มอบหมาย โดยให้ส่งผ่านล็อกนี้ ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์งานอีกด้วย ในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ ยังสอนให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง และมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง

อนุทินที่ 7

แบบฝึกหัด

1.จงบอกสภาพปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบันว่ามีอะไรบ้างและท่านมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างไร
ตอบ    สภาพปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน มีดังนี้
1. ปัญหาความยากจน
แนวทางการแก้ไข ต้องมีการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การกระจายรายได้  การสร้างงานในชนบท  ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
2. ปัญหาอาชญากรรม
แนวทางการแก้ไข   ต้องให้รัฐและหน่วยงานที่รับผิดชอบควรช่วยกันแก้ไขปัญหา   ปลูกฝังและพัฒนาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้มีคุณธรรม  อบรมสั่งสอนและให้ความรัก ความอบอุ่น และรวมถึงให้ความร่วมมือกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
3. ปัญหายาเสพติด
แนวทางการแก้ไข    ควรมีการให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพย์ติด  ป้องกันและปราบปรามผู้ซื้อและผู้ขายอย่างเด็ดขาด   การร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของเด็กอย่างใกล้ชิดและจัดให้มีการบำบัดและรักษาผู้ติดยาเสพย์ติด
4. ปัญหาโรคเอดส์
แนวทางการแก้ไข  ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการโรคเอดส์ให้กับประชาชน   ไม่เสพย์สิ่งเสพย์ติด โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน     ระมัดระวังการติดเชื้อโดยทางสายเลือด
5. ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศเป็นพิษ น้ำเน่าเสีย เสียงเป็นพิษ ขยะมูลฝอย เป็นต้น
แนวทางการแก้ไข   ให้การศึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ แก่สมาชิกในสังคม    วางนโยบายการป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม    ลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิดอย่างจริงจัง

2.จงอธิบายทิศทางใหม่ในการจัดการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 15 ปี ตามที่ท่านมีภูมิรู้และเข้าใจ
ตอบ    ทิศทางใหม่ในการจัดการศึกษาหรือ  แผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 15 ปี เป็นแผนที่มีความสำคัญ เพราะเป็นการนำสาระของการปฎิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลสู่การปฏิบัติ และเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา และแผนพัฒนาด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเสร็จสมบูรณ์ และได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาพื้นฐานในการกำหนดแผน

3.ท่านคิดว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่มุ่งพัฒนาให้เกิด "การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย" ได้อย่างไร
ตอบ    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1. กรอบแนวคิด 
           เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
ส่วนที่ 2. คุณลักษณะ
           เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
ส่วนที่ 3. คำนิยาม 
           ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
           ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียน                     ตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
           ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
           การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
ส่วนที่ 4. เงื่อนไข 
            การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้
            เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
            เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ส่วนที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
             จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

จากส่วนประกอบทั้ง 5 ส่วนนี้ ถ้าบุคคลใดสามารถยึดปฏิบัติในการดำรงชีวิตได้ บุคคลผู้นั้นย่อมเป็นบุคคลที่มีความเป็นอยู่ที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืน

4.แนวนโยบายเพื่อดำเนินการพัฒนาคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ มีเป้าหมายและ กรอบดำเนินการอย่างไร
ตอบ  แนวนโยบายเพื่อดำเนินการพัฒนาคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ มีเป้าหมาย ดังนี้
1. เด็กปฐมวัย อายุ 0 - 5 ปี ทุกคนได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมทุกด้านก่อนเข้าสู่ระบบการศึกษา
2. เด็กทุกคนจบการศึกษาภาคบังคับเก้าปี
3. คนไทยทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปี
4. มีกำลังคนด้านอาชีวะศึกษาระดับต่างๆ ที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอกับความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาประเทศ
5. มีการพัฒนาฝีมือเเรงงานให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย
6. ผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับสิบสองปีมีโอกาสได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดในหลากหลายรูปแบบ
7. มีการจัดบริการการศึกษาในรูปแบบและวิธีการต่างๆทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายเพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการศึกษาของประชาชนทุกคน

แนวนโยบายเพื่อดำเนินการพัฒนาคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ มีกรอบดำเนินงาน ดังนี้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยในรูปแบบที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความรู้แก่พ่อแม่
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาปฐมวัยให้มีคุณภาพครอบคลุมเป้าหมายเพื่อพัฒนารากฐานพัฒนาการของทุกชีวิตอย่างเหมาะสม
3. จัดบริการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัยเพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่หลากหลายเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการและความสนใจ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อพัฒนากำลังคนทุกระดับในภาคการผลิตต่างๆและเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ยกระดับความรู้ความสามารถในทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
5. ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้มีความหลากหลายและให้เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศและตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
6. จัดบริการการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ
7. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเฉพาะทางเพื่อสนองความต้องการที่เฉพาะโดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
8. ส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นที่ทางการรับรองและการเผยแพร่ศาสนาธรรมทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัยในทุกระดับและประเภทการศึกษา

5.แนวนโยบายเพื่อดำเนินการและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีเป้าหมายและกรอบดำเนินการอย่างไร
ตอบ  แนวนโยบายเพื่อดำเนินการและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีเป้าหมาย ดังนี้
1. มีการบูรณาการด้านการศึกษา ศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม ทั้งเนื้อหา กระบวนการ และกิจกรรมการเรียนรู้
2. บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน สังคมอื่นทุกแห่งร่วมคิดและร่วมดำเนินงานเพื่อพัฒนาคนไทยให้มีศีลธรรมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
3. คนไทยส่วนใหญ่มีค่านิยม และพฤติกรรมที่เหมาะสมตามระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม

แนวนโยบายเพื่อดำเนินการและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีกรอบดำเนินการ ดังนี้
1. ปฏิรูปโครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตรในทุก ระดับการศึกษาให้มีสาระของความรู้เกี่ยว กับความจริงของชีวิตและธรรมชาติ หลักธรรมของศาสนา คุณธรรม จริยธรรม
2. ส่งเสริมบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นมีส่วนร่วมสำคัญในการสร้างศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมอันดีงาม
3. บูรณาการการศึกษาและศาสนาเข้าด้วยกันโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นความรู้ และคุณธรรม
4. ส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ด้วยกระบวนการทางการศึกษาและฝึกอบรม

6.ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ทำได้อย่างไร
ตอบ   สังคมแห่งการเรียน เป็น กระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคลหรือสมาชิกในชุมชน/สังคมเกิดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ องค์ความรู้ต่าง ๆ จนสามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะ มีระบบการจัดการความรู้และระบบการเรียนรู้ที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนในสังคมทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์ และใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการเลือกและตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างเหมาะสมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

แนวทางในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ จะต้องทำให้เกิดเป็นลักษณะ ดังนี้

1. ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง
2. เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก
3.ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)
4. สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม/ดำเนินการ (Key Institutions)
5. มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง (Core Groups) เพื่อรวมตัวกัน
     จัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน
6. มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้
7. มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
8. การริเริ่ม/การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา
9. สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้
10. ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน
11. ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน

7.การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน ท่านเข้าใจว่าอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม ให้เอื้อต่อการพัฒนาคน ประกอบด้วย แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในชุมชน การสร้างโอกาสให้คน ครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และสังคม การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคม เพื่อสร้างหลักประกันด้านต่างๆ แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง การเสริมสร้างขีดความสามารถ ในระบบอำนวยความยุติธรรม และระบบความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินให้แก่ประชาชน และการส่งเสริมให้วัฒนธรรม มีบทบาทในการพัฒนาคน และประเทศให้สมดุล และยั่งยืน

8.การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศมีเป้าหมายและกรอบการดำเนินการอย่างไร
ตอบ    การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศมีเป้าหมาย ดังนี้
 1. มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง 
 2. ประชาชนทุกคนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสามารถใช้เพิ่มพูนความรู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง          

 การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศมีกรอบการดำเนินการ ดังนี้
1. ส่งเสริมหน่วยงานทุกระดับและสถานศึกษาทุกแห่งให้มีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงและสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
2.ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และ เพิ่มคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ใช้ และผู้ผลิตเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีจิตสำนึก จรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบ และผลิต สื่อเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ
4. พัฒนาผู้รับและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถเลือกสรร กลั่นกรอง และใช้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ
9.แนวทางการบริหารเพื่อนำสู่แผนการปฏิบัติ มีอะไรบ้าง
ตอบ    แนวทางการบริหารเพื่อนำสู่แผนการปฏิบัติ  มีดังต่อไปนี้

1.จัดเตรียมและพัฒนากลไลการนำแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ 2.จัดทำกรอบและแนวปฏิบัติของแผน
3.ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ
4.พัฒนาระบบและกลไกการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลแผน
5. การประเมินผลแผน

10. การประเมินผลแผนการศึกษาแห่งชาติ มีขั้นตอน และกระบวนการประเมินอย่างไร
ตอบ 
ขั้นเตรียมความพร้อม ได้แก่ การประเมินความรู้ความเข้าใจสาระของแผน ความพร้อมขององค์กรและกลไกตามโครงสร้างการบริหารของแผน ระบบและกลไกการประสานงาน เป็นต้น
ขั้นประเมินกระบวนการปฏิบัติ ได้แก่ กระบวนการจัดทำกรอบแนวทางของแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติ กระบวนการนำแผนสู่การปฏิบัติในทุกขั้นตอน
ขั้นประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลประโยชน์ ที่เกิดกับประชาชนว่าเป็นไปตามเป้าหมาย เจตนารมย์เพียงใด

อนุทินที่ 6


สรุปพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ.2545


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2545

เป็นปีที่ 57 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545”

มาตรา 2 ระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

“การศึกษาภาคบังคับ” หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษา
ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ

“ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน

“เด็ก” หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว

“คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า คณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

“คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา” หมายความว่า คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฎิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 5 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา และการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับโดยให้ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา รวมทั้งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี 

มาตรา 6 ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา เมื่อผู้ปกครองร้องขอ ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด

มาตรา 7 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่าง พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบการเข้าเรียนของ เด็ก หากพบว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาตามมาตรา 5 ให้ดำเนินการให้เด็กนั้น ได้เข้าเรียนในสถานศึกษานั้น แล้วรายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณีทราบ ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้ ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบเด็ก แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา 

มาตรา 8 ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่ง เกี่ยวข้องบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

มาตรา 9 ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวย ความสะดวกตามสมควร

มาตรา 10 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็น เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 11 ผู้ใดซึ่งมิใช่ผู้ปกครอง มีเด็กซึ่งไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาอาศัยอยู่ด้วย ต้องแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่เด็กมาอาศัยอยู่ เว้นแต่ผู้ปกครองได้อาศัยอยู่ด้วยกับผู้นั้น การแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด 

มาตรา 12 ให้กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา จัดการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือเด็กซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส หรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดตามความจำเป็น เพื่อประกันโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ 

มาตรา 13 ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 14 ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 9 ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

มาตรา 15 ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 16 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 11 หรือแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 17 ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตราที่ 18 ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ให้คณะกรรมการการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร คณะกรรมการการประถมศึกษาอำเภอ หรือคณะกรรมการการประถมศึกษากิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และให้สำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ หรือสำนักงานการประถมศึกษากิ่งอำเภอแล้วแต่กรณี ทำหน้าที่แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 

มาตรา 19 ให้บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษายังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 20 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับมีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ 

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร 

นายกรัฐมนตรี 



หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศให้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 

จาก ราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่........เล่มที่ 119 ตอนที่ 128 ก หน้า 1 – 8 31 ธันวาคม 2545