วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

อนุทินที่ 7

แบบฝึกหัด

1.จงบอกสภาพปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบันว่ามีอะไรบ้างและท่านมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างไร
ตอบ    สภาพปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน มีดังนี้
1. ปัญหาความยากจน
แนวทางการแก้ไข ต้องมีการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การกระจายรายได้  การสร้างงานในชนบท  ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
2. ปัญหาอาชญากรรม
แนวทางการแก้ไข   ต้องให้รัฐและหน่วยงานที่รับผิดชอบควรช่วยกันแก้ไขปัญหา   ปลูกฝังและพัฒนาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้มีคุณธรรม  อบรมสั่งสอนและให้ความรัก ความอบอุ่น และรวมถึงให้ความร่วมมือกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
3. ปัญหายาเสพติด
แนวทางการแก้ไข    ควรมีการให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพย์ติด  ป้องกันและปราบปรามผู้ซื้อและผู้ขายอย่างเด็ดขาด   การร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของเด็กอย่างใกล้ชิดและจัดให้มีการบำบัดและรักษาผู้ติดยาเสพย์ติด
4. ปัญหาโรคเอดส์
แนวทางการแก้ไข  ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการโรคเอดส์ให้กับประชาชน   ไม่เสพย์สิ่งเสพย์ติด โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน     ระมัดระวังการติดเชื้อโดยทางสายเลือด
5. ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศเป็นพิษ น้ำเน่าเสีย เสียงเป็นพิษ ขยะมูลฝอย เป็นต้น
แนวทางการแก้ไข   ให้การศึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ แก่สมาชิกในสังคม    วางนโยบายการป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม    ลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิดอย่างจริงจัง

2.จงอธิบายทิศทางใหม่ในการจัดการศึกษาตามแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 15 ปี ตามที่ท่านมีภูมิรู้และเข้าใจ
ตอบ    ทิศทางใหม่ในการจัดการศึกษาหรือ  แผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 15 ปี เป็นแผนที่มีความสำคัญ เพราะเป็นการนำสาระของการปฎิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาลสู่การปฏิบัติ และเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา แผนพัฒนาการอุดมศึกษา และแผนพัฒนาด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเสร็จสมบูรณ์ และได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาพื้นฐานในการกำหนดแผน

3.ท่านคิดว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่มุ่งพัฒนาให้เกิด "การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย" ได้อย่างไร
ตอบ    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1. กรอบแนวคิด 
           เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
ส่วนที่ 2. คุณลักษณะ
           เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
ส่วนที่ 3. คำนิยาม 
           ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
           ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียน                     ตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
           ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
           การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
ส่วนที่ 4. เงื่อนไข 
            การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้
            เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
            เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ส่วนที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
             จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

จากส่วนประกอบทั้ง 5 ส่วนนี้ ถ้าบุคคลใดสามารถยึดปฏิบัติในการดำรงชีวิตได้ บุคคลผู้นั้นย่อมเป็นบุคคลที่มีความเป็นอยู่ที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืน

4.แนวนโยบายเพื่อดำเนินการพัฒนาคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ มีเป้าหมายและ กรอบดำเนินการอย่างไร
ตอบ  แนวนโยบายเพื่อดำเนินการพัฒนาคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ มีเป้าหมาย ดังนี้
1. เด็กปฐมวัย อายุ 0 - 5 ปี ทุกคนได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมทุกด้านก่อนเข้าสู่ระบบการศึกษา
2. เด็กทุกคนจบการศึกษาภาคบังคับเก้าปี
3. คนไทยทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปี
4. มีกำลังคนด้านอาชีวะศึกษาระดับต่างๆ ที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอกับความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาประเทศ
5. มีการพัฒนาฝีมือเเรงงานให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย
6. ผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับสิบสองปีมีโอกาสได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่จัดในหลากหลายรูปแบบ
7. มีการจัดบริการการศึกษาในรูปแบบและวิธีการต่างๆทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายเพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการศึกษาของประชาชนทุกคน

แนวนโยบายเพื่อดำเนินการพัฒนาคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิตให้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ มีกรอบดำเนินงาน ดังนี้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยในรูปแบบที่หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความรู้แก่พ่อแม่
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาปฐมวัยให้มีคุณภาพครอบคลุมเป้าหมายเพื่อพัฒนารากฐานพัฒนาการของทุกชีวิตอย่างเหมาะสม
3. จัดบริการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัยเพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่หลากหลายเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการและความสนใจ
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อพัฒนากำลังคนทุกระดับในภาคการผลิตต่างๆและเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ยกระดับความรู้ความสามารถในทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนื่อง
5. ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้มีความหลากหลายและให้เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศและตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น
6. จัดบริการการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ
7. ส่งเสริมการจัดการศึกษาเฉพาะทางเพื่อสนองความต้องการที่เฉพาะโดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
8. ส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นที่ทางการรับรองและการเผยแพร่ศาสนาธรรมทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัยในทุกระดับและประเภทการศึกษา

5.แนวนโยบายเพื่อดำเนินการและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีเป้าหมายและกรอบดำเนินการอย่างไร
ตอบ  แนวนโยบายเพื่อดำเนินการและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีเป้าหมาย ดังนี้
1. มีการบูรณาการด้านการศึกษา ศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม ทั้งเนื้อหา กระบวนการ และกิจกรรมการเรียนรู้
2. บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน สังคมอื่นทุกแห่งร่วมคิดและร่วมดำเนินงานเพื่อพัฒนาคนไทยให้มีศีลธรรมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
3. คนไทยส่วนใหญ่มีค่านิยม และพฤติกรรมที่เหมาะสมตามระบบวิถีชีวิตที่ดีงาม

แนวนโยบายเพื่อดำเนินการและเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน มีกรอบดำเนินการ ดังนี้
1. ปฏิรูปโครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตรในทุก ระดับการศึกษาให้มีสาระของความรู้เกี่ยว กับความจริงของชีวิตและธรรมชาติ หลักธรรมของศาสนา คุณธรรม จริยธรรม
2. ส่งเสริมบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นมีส่วนร่วมสำคัญในการสร้างศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมอันดีงาม
3. บูรณาการการศึกษาและศาสนาเข้าด้วยกันโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นความรู้ และคุณธรรม
4. ส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ด้วยกระบวนการทางการศึกษาและฝึกอบรม

6.ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ทำได้อย่างไร
ตอบ   สังคมแห่งการเรียน เป็น กระบวนการทางสังคมที่เกื้อหนุนส่งเสริมให้บุคคลหรือสมาชิกในชุมชน/สังคมเกิดการเรียนรู้โดยผ่านสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ องค์ความรู้ต่าง ๆ จนสามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะ มีระบบการจัดการความรู้และระบบการเรียนรู้ที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนในสังคมทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์ และใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการเลือกและตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างเหมาะสมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

แนวทางในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ จะต้องทำให้เกิดเป็นลักษณะ ดังนี้

1. ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง
2. เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก
3.ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)
4. สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม/ดำเนินการ (Key Institutions)
5. มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง (Core Groups) เพื่อรวมตัวกัน
     จัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน
6. มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้
7. มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
8. การริเริ่ม/การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา
9. สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้
10. ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน
11. ทุกคนเป็นครูและผู้เรียน

7.การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคน ท่านเข้าใจว่าอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคม ให้เอื้อต่อการพัฒนาคน ประกอบด้วย แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในชุมชน การสร้างโอกาสให้คน ครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และสังคม การพัฒนาระบบความมั่นคงทางสังคม เพื่อสร้างหลักประกันด้านต่างๆ แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง การเสริมสร้างขีดความสามารถ ในระบบอำนวยความยุติธรรม และระบบความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินให้แก่ประชาชน และการส่งเสริมให้วัฒนธรรม มีบทบาทในการพัฒนาคน และประเทศให้สมดุล และยั่งยืน

8.การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศมีเป้าหมายและกรอบการดำเนินการอย่างไร
ตอบ    การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศมีเป้าหมาย ดังนี้
 1. มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง 
 2. ประชาชนทุกคนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และสามารถใช้เพิ่มพูนความรู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง          

 การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศมีกรอบการดำเนินการ ดังนี้
1. ส่งเสริมหน่วยงานทุกระดับและสถานศึกษาทุกแห่งให้มีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงและสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
2.ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และ เพิ่มคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ใช้ และผู้ผลิตเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีจิตสำนึก จรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบ และผลิต สื่อเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ
4. พัฒนาผู้รับและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถเลือกสรร กลั่นกรอง และใช้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ
9.แนวทางการบริหารเพื่อนำสู่แผนการปฏิบัติ มีอะไรบ้าง
ตอบ    แนวทางการบริหารเพื่อนำสู่แผนการปฏิบัติ  มีดังต่อไปนี้

1.จัดเตรียมและพัฒนากลไลการนำแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ 2.จัดทำกรอบและแนวปฏิบัติของแผน
3.ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ
4.พัฒนาระบบและกลไกการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลแผน
5. การประเมินผลแผน

10. การประเมินผลแผนการศึกษาแห่งชาติ มีขั้นตอน และกระบวนการประเมินอย่างไร
ตอบ 
ขั้นเตรียมความพร้อม ได้แก่ การประเมินความรู้ความเข้าใจสาระของแผน ความพร้อมขององค์กรและกลไกตามโครงสร้างการบริหารของแผน ระบบและกลไกการประสานงาน เป็นต้น
ขั้นประเมินกระบวนการปฏิบัติ ได้แก่ กระบวนการจัดทำกรอบแนวทางของแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติ กระบวนการนำแผนสู่การปฏิบัติในทุกขั้นตอน
ขั้นประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลประโยชน์ ที่เกิดกับประชาชนว่าเป็นไปตามเป้าหมาย เจตนารมย์เพียงใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น